Dyckia

Dyckia มีใครรู้จักบ้างไหมครับ  Dyckia เป็นพืชในวงศ์สับปะรดที่มีเกือบ 3,000 ชนิด เพราะนั้น
หลายคนเลยเรียกกันแบบไทยๆ ว่า สับปะรดหนาม หลายท่านเห็นหนามโหดๆ ของมันแล้วคง
ต้องถอย แต่ก็มีคนชอบหนามคมๆของมัน มองแล้วเห็นความสวยของหนามโหดๆ
    เดิมทีผมเห็นเจ้าสับปะรดหนามนี่มาราวๆ 2-3 ปี แต่ไม่เคยมีความคิดว่าจะอยากได้ หรืออยาก
ครอบครองแต่อย่างใด มองยังไงมันก็หนาม สีสรรก็งั้นๆ เครื่องปลูกที่เห็นปลูกกันก็ใช้แต่หินภูเขาไฟ
แต่ต่อมาปี 53 เห็นจะได้ได้เห็นทีเด็ดของคุณป้อง Xeric Garden คราวนี้มันโดนครับ โดนเข้าอย่าง
จัง ลองมาชมดูครับ กุ้งมังกรของคุณป้อง สวยไร้ที่ติ


ด้วยลักษณะการเรียงใบแบบพิเศษ คือแผ่ออกไปสองข้างแบบรูปพัดไม่เรียงเวียนเป็น rosette แบบ

ไม้ส่วนใหญ่ในวงศ์สับปะรด จึงทำให้มันดึงดูดความสนใจ  แม้คนที่ไม่เคยเล่นสับปะรดหนามมาก่อน
อย่างผม  ก็ยังต้องชอบความแปลกของไม้พิเศษต้นนี้ จากประวัติที่คุณป้อง Xeric Garden ให้ไว้
  ไม้ต้นนี้ตั้งชื่อตาม Dr Eddie Esteves Pereira นักพฤกษศาสตร์ชาวบราซิล ที่ศึกษาวิจัยและมีบทบาท
ในการอนุรักษ์พืชเฉพาะถิ่นที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งของบราซิล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพืช
ในจำพวกสับปะรดหนามหลากสกุล เช่น Orthophytum , Encholirium และ Dyckia โดย Dr. Eddie
ได้เป็นผู้ค้นพบไม้พิเศษต้นนี้ บริเวณที่ราบสูง Goiás และต่อมา Prof. Werner Rauh ก็ได้ตั้งชื่อให้
เป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบมัน  คุณป้อง Xeric Garden ได้เจ้า สับปะรดหนามกุ้งมังกร" ต้นนี้มาเลี้ยง
ต้นปี 2006 ได้ผลิตลูกออกมาราวๆ 80 ต้น ได้เผยแพร่ออกไป ให้กับเพื่อนๆ ที่สนใจเรื่อยมา

โอ้ย.. อยากได้มากครับ แต่ตอนนั้นมีคนปล่อยต่อออกมา ราคาหน่อละหลายหมื่นอยู่ เหอๆ ราคานี้ไม่ไหว
จากนั้นก็รอและรอ ผมกะไว้ว่าหากจะเล่นสับปะรดหนาม ด้วยความคมของหนามนี่ไม่ถูกกันกับผมเอา
ซะเลย และราคาค่อนข้างจะสูงมาก เอามาเลี้ยงไม่รู้จะตายหรือปล่าว เพราะงั้นถ้าจะซื้อก็ต้องต้นนี้เท่านั้น
และแล้ว ด้วยกลไกลตลาดไม้ที่มีน้อย ราคาสูง ย่อมเป็นที่ต้องการของนักเล่นส่วนมาก จึงมีคนนำเจ้า
Dyckia estevesii (สับปะรดหนามกุ้งมังกร)ไปปั่นเนื้อเยื่อ และจำหน่ายออกมาในราคาที่เอื้อมถึง แต่ต้อง
ซื้อยกถาด ขนาดต้นราวๆ 2-3 cm. ราวๆ 50 ต้น 
    ไม่พลาดครับผมได้มาเลี้ยง  โดยการซื้อร่วมหุ้นกับพี่ทางภาคเหนือ ปี 54 ผมได้มา 10 ต้น จึงเลี้ยงมา
จนปัจจุบันได้ฟอร์มกุ้งมังกรแล้ว แต่ต้นยังเล็กอยู่
     พอได้มา 1 ชนิด จากนั้น Dyckai ก็เดินเข้าเข้าบ้านกันอีกหลากหลายชนิด

มาดูฟาร์มกุ้งมังกรเพาะเนื้อเยื่อที่บ้านของผม เลี้ยงแบบบ้านๆ



ต้นใหญ่พอสมควร การปลูกให้งามต้องมีถาดใส่น้ำรองก้อนกระถาง ส่วนในกระถางใช้หินภูเขาไฟ
อย่างเดียว โตช้าแต่ไม่ตาย หนามคมมากถ้าจะเปลี่ยนกระถางต้องคิดนานเลย ออกดอกทุกปี
เคยเขี่ยเกสรเอาเมล็ดมาเพาะได้ลูกๆที่เกิดมาแบบ Dyckia ทั่วไป ถ้าอยากได้ฟอร์มนี้ต้องแยกหน่อ
หรือไม่ก็ปั่นตาเอา