วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สายพันธุ์ชวนชม ( Adenium )

สายพันธุ์ชวนชม
นักพฤกษศาสตร์ได้จัดให้ชวนชมอยู่ในสกุล adenium
Roem&Schult(Mock Azalea, DesertRose, Impala Lily,
 Kudu Lily, Sabi Star)ในวงศ์ Apocynaceae  โดยพืชใน
วงศ์นี้มีลักษณะเด่นที่มักจะมียางขุ่นขาวและมักจะมีพิษ
  เกสรเพศผู้และเมียถูกปกปิดอยู่ลึก   มองเห็นไม่ชัดเจน
เช่นดอกไม้อื่นๆ ไม้ในวงศ์นี้ที่เห็นรู้จักกันทั่วไปมีทั้งเป็น
ไม้พื้นเมืองและนำเข้าได้แก่ ยี่โถ  ลั่นทม
บานบุรี รำเพย พุด พังพวย โมก หิรัญญิการ์  หนามแดง  ตีนเป็ดทะเล  สัตบรรณ  ยางน่อง  ฯลฯ
ชวนชมเป็นพืชอายุหลายปี ทนแล้ง มีลักษณะเด่นที่เป็นไม้เนื้ออ่อนอวบน้ำ   เก็บกักตุนอาหารไว้
ที่ลำต้น โขด  (cordex, ส่วนต่อของลำต้นกับรากที่ขยายใหญ่ขึ้น)และราก  ดอกมีห้ากลีบ สีชมพู
อมแดง  ส่วนกลางดอกจะเห็นระยางค์  5  เส้นยื่นยาวชัดเจนเป็นส่วนปลายของอับเรณูอยู่ภายใน
กรวยดอกไว้ล่อแมลง ที่ส่วนฐานกลีบดอกเชื่อมติดรวมเป็นกรวยฐานกรวยเป็นที่ตั้งของรังไข่ 1 คู่
ถ้าได้รับการผสมเกสรสมบูรณ์จะเจริญเป็นฝักยาวคล้ายเขากวางอิมพาลา  ภายในฝักมีเมล็ดเรียง
เป็นแถวจำนวนเป็นสิบจนถึงร่วมร้อย เมล็ดทรงกระบอกเรียวยาวขนาดรูปร่าง สีใกล้เคียงเมล็ดข้าว
เปลือกที่มีตอนปลายตัดทั้งสองด้านพร้อมมีพู่กระจุกขน ประดับช่วยพยุงเมล็ดให้ปลิวไปตามลมได้
ไกล ๆแหล่งกำเนิดดั้งเดิมในธรรมชาติของพืชในสกุลชวนชมมีสองแหล่งใหญ่คือ
แหล่งที่ 1 พบตามแนวฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกาได้แก่ชนิด

1.Adenium obesum Balf.f.(Desert Rose, Mock Azalea, Impala Lily)ได้แก่พันธุ์
พื้นเมือง พบตอนใต้ซาอีล แทนซาเนีย ซิมบักเวย์ และตามแนวฝั่งทะเลของเคนย่า  เป็นชนิดดั้ง
เดิมที่นำเข้ามาครั้งแรกดังกล่าวข้างต้น   จึงพบกันทั่วไปในประเทศไทย  จนบางครั้งถูกเรียกเป็น
พันธุ์ไทยหรือพันธุ์พื้นเมืองไป   ลักษณะเด่นของชนิดนี้คือ   ลำต้นส่วนใหญ่จะแตกกิ่งแขนงมาก
รูปทรงคล้ายไม้ยืนต้นพวกจามจุรี โคนต้นติดกับโขดมักไม่ขยายพองกว้างใหญ่มากนัก จะเก็บ
สะสมอาหารและน้ำไว้ที่ส่วนรากที่มีขนาดใหญ่มาก ใบเรียบมัน ไม่มีขน สีเขียวอ่อนสดใส เส้นใบหลักและแขนงมีสีอ่อน เห็นชัดเจน ดอกสีชมพู ขอบกลีบสีเข้ม ภายในกรวยมีเส้นนำทางเข้าสู่ต่อมน้ำหวาน (nectar guide) ใต้ฐานกลีบดอก กลีบละ 1 เส้น ภายในกรวยดอกสีเหลือจะเห็นระยางค์ของอับเรณู 5 เส้นอยู่ภายในกรวยที่ไม่มีขนมากนัก ออกดอกดกเกือบทั้งปี ต่อมาไม้ชนิดนี้ได้มีการปรับปรุงและคัดสายพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศ ไม้ที่เพาะจากเมล็ดเกิดความหลากหลาย เกิดส่วนโขดขยายพองโตมาก รากใหญ่ ดอก มักจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดและสีแตกต่างกันมาก จากขาวจนถึงแดงเข้ม เกิดดอกลายมีเหลื่อมสีมากขึ้น จำนวนดอกในช่อมีมากขึ้น บางสายพันธุ์ดอกจะบานนานขึ้นกลายเป็นไม้ติดตลาดยอดนิยมอีกชนิดหนึ่ง สำหรับในประเทศไทยแรกเริ่มมากกว่าสิบปี มีผู้นำชวนชมกลุ่มที่มีโขดใหญ่เข้ามาจากแหล่งเพาะขยายพันธุ์ใหญ่ของสหรัฐ อเมริกาแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่หลังจากนั้นมีการนำเข้ามาจากฮอลแลนด์ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น จนเป็นที่รู้จักและเรียกกันทั่วไปว่าเป็นกลุ่มลูกผสมสายพันธุ์ "ฮอลแลนด์" และก็ยังมีการนำเข้าของสายพันธุ์เด่น ๆ จากไต้หวัน และสหรัฐอเมริกาเข้ามาเพิ่มเติม เนื่องจากสายพันธุ์ลูกผสมชนิดนี้ในประเทศไทย สีสรรมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น จากขาวจนถึงแดงเข้มจัดในบางสายพันธุ์ เป็นที่นิยมมากมายหลายร้อยชื่อ นับเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหาสายพันธุ์ และจำนวนต้นมากมายจนมีชื่อเสียงมากในโลกปัจจุบัน สำหรับต้นพื้นเมืองเดิมหรือลูกของออลแลนด์ที่มีดอกไม่สวย เมื่อมีลำต้น โขดและรากขนาดใหญ่ จะนำมาตัดแต่งรูปทรงให้สวยงามนำมาใช้เป็นต้นตอเพื่อต่อกิ่งสายพันธุ์ที่ดีลง ก็จะให้ดอกสวยงามต่อไป

2) A. multiflorum Klotzsch ได้แก่ แดงเอหรือแดงอาฟฯ พบที่โมแซมบิคบางครั้งจึงพบว่าจัดชนิดนี้เป็นชนิดย่อยของ obesum เพราะโครงสร้างลำต้นทั่วไปคล้ายชวนชมพื้นเมือง เจริญเติบโตเร็วแข็งแรง ลักษณะเด่นที่แยกได้ชัดคือภายในกรวยดอกมีเส้นนำทางน้ำหวานอยู่ 15 เส้น (3เส้น/กลีบดอก) สีพื้นดอกเป็นขาวขอบแดงเข้ม ขอบกลีบบิดเล็กน้อย ระยางค์ของอับเรณูยาวเลยส่วนกรวยดอก ใบแตกต่างมากเป็นสีเขียวอมเทาเป็นมัน ส่วนปลายใบมนขยายกว้างและมักเว้าลึกที่กึ่งกลาง มักทิ้งใบหมดหลังหนาวจัดแล้วจึงให้ดอกบานเต็มต้น ชวนชมชนิดนี้คาดว่านำมาในประเทศไทยใกล้เคียงกันกับชนิดแรกข้างบน หากแต่ไม่เกิดความนิยมเท่า อาจจะเป็นเพราะจัดเป็นพันธุ์หนักมีดอกยาว จะบานพร้อมกันมากเป็นบางฤดูเท่านั้น

3) A. swazicum Stapf (Impala Lily หรือกลุ่มช็อคกิ้งพิ้ง) พบที่สวาซิแลนด์ โมแซมบิค ทรานซ์วาล ของอาฟริกาใต้ เป็นไม้ที่มีลักษณะเป็นพุ่มแตกกิ่งแขนงมาก โขดไม่ขยายอยู่ใต้ดิน เก็บอาหารที่รากใบเรียวยาวไม่เป็นระเบียบ มีสีเขียวอ่อน มักพับเข้าหากันที่กึ่งกลางใบ มีขนละเอียดทั้งด้านบนและล่าง ดอกสีขาว ชมพูจนถึงม่วง เป็นสีทึบแน่นเสมอกันทั่วกลีบจนถึงกรวย ซึ่งไม่มีเส้นนำทางน้ำหวาน กลีบดอกกว้างเกยกัน ระยางค์ของอับเรณูสั้นมากซ่อนหลยอยู่ส่วนลึกในกรวย โดยมากดอกบานมากช่วงฤดูร้อน แต่บางสายพันธุ์ให้ดอกได้ตลอดทั้งปี เป็นไม้นำเข้ามาในประเทศไทยทั้งเมล็ดและกิ่งตอนมากมายหลายสายพันธุ์ช่วงสิบ ปีนี้ รู้จักกันในชื่อช็อคกิ้งพิ้ง รจนา ทับทิม เกล็ดไพริน เพ็ญนภา ขาวหิมะ และม่วงฮาวาย เป็นต้น

4) A. bomianum Schinz ได้แก่กลุ่มดอกผักบุ้ง ใบกระท้อน ใบฝรั่ง พบที่นามิเบียและแองโกล่า ลักษณะเด่นของชนิดนี้คือ ลำต้นตั้งตรง โขดมีขนาดเล็ก ใบมีขนละเอียดปกคลุม ขนาดกว้างใหญ่มาก ปลายใบกว้างมาก ดอกทั้งกลีบดอกและกรวยเป็นสีชมพูทึบแน่นเป็นเนื้อเสมอเดียวกัน ลักษณะกลีบค่อนข้างกลมกลีบเกยกัน ระยางค์ของอับเรณูสั้นมากซ่อนหลบอยู่ส่วนลึกของกรวย ในต่างประเทศมีดอกบานช่วงสั้นเพียงช่วง 2-3 อาทิตย์ในฤดูร้อน ได้นำเข้ามาในประเทศไทยช่วง 5-6 ปีที่แล้ว เป็นไม้ที่นำเมล็ดและกิ่งตอนเข้ามาจากแหล่งสะสมพันธุ์ไม้ของสหรัฐอเมริกา และที่ฮาไว รู้จักกันในชื่อ เจ้าเงาะ พระสังข์ ดอกสีโอวัลติน เชอร์รี่พิ้งค์ ม่วงอุษา ม่วงฮาวาย และหนึ่งฤทัย เป็นต้น

5) A. oleifolium Stapf ได้แก่กลุ่มใบเงิน พบที่บอทสวาน่า นามิเบีย ทรานซ์วาล เบคชัวนาแลนด์ และอาฟริกาเหนือและใต้ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งมากใบแคบเขียอ่อน บางครั้งเป็นสีเขียวอมเทาเป็นเงินวาว ใบมักจะแบนแคบรูปใบพาย มีขนละเอียดปกคลุมมาก เส้นแขนงใบเห็นไม่ชัดเจน การจัดวางใบไม่เป็นระเบียบ มีโขดใหญ่ มักมีสีคล้ายดินลูกรัง ชอบฝังอยู่ใต้ดิน บางต้นอาจหนักเกือบ 30 กิโลกรัม ดอกมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง กลีบดอกค่อนข้างแข็งหนากว่าชนิดอื่น ๆ สีชมพูกลีบแคบไม่เกยกัน กรวยสีเหลืองทอง เส้นนำทางน้ำหวานพาดยาวจากกรวยถึงบนกลีบดอกชัดเจน ระยางค์อับเรณูยาวประมาณปากกรวยดอก อายุฝักกว่าจะแก่ใช้เวลานานเกือบหนึ่งปี เมล็ดมีขนาดใหญ่มาก ไม่พบว่ามีการติดักในบ้านเรา สายพันธุ์จึงไม่มีการพัฒนาในประเทศไทยนำเมล็ดเข้ามาปลูกกันไม่มากนัก รู้จักกันในชื่อไม้นำเข้า บลูฮาวาย ยักษ์ใบเงิน

6) A. somalense var. somalense Balf. f. ได้แก่กลุ่มยักษ์ใบยี่โถ ยักษ์ใบเรียว พบที่โซมาเลีย แทนซาเนีย และตะวันตกเฉียงเหนือของเคนย่า เป็นไม้ยืนต้นจัดว่าเป็นชวนชมยักษ์อีกชนิดหนึ่งที่มีลำต้นตรงใหญ่ชะลูดทาง สูงมากกว่าการแตกกิ่งทางด้านข้าง ดังพวกพันธุ์ obesum และโขดโตมากเป็นกรวยสูงรับกับลำต้น ส่วนรากไม่ขยายรับกับความใหญ่สมกับลำต้น ที่พบในท้องถิ่นเดิมของอาฟริการายงานว่าสูงถึงสามเท่าช่วงตัวคน มีโคนใหญ่กว่าถัง 200 ลิตร ในบ้านเราโตเร็วมากปลูกได้ไม่กี่ปีก็อาจสูงกว่า 2 เมตร ใบเรียวแคบไม่มีขน สีเขียวสดใส เห็นเส้นใบขาวเด่นชัด รูปร่างคล้ายใบยี่โถมาก จะทิ้งใบหมดหากกระทบแล้ง เป็นไม้ที่ออกดอกดกมาก เป็นฤดูชอบออกดอกตามลำต้นและกิ่งหลัก ดอกมีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง สีชมพูริมขอบกลีบแดง และซีดลง บริเวณส่วนกลางดอก กลีบดอกไม่เกยกัน กรวยดอกมีเส้นนำทางน้ำหวาน 15-25 เส้น ยาวเลยเข้ามาที่กลีบดอกเล็กน้อย ระยางค์อับเรณูยาวเลยปากกรวยดอก ติดฝักได้ดีพอสมควร เมล็ดมีขนาดใหญ่ เป็นไม้ที่นำเข้าในประเทศไทยมากกว่า 20 ปี จากแหล่งเพาะเลี้ยงเคคทัสในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันจึงมีต้นชนิดนี้ที่นำเข้ารุ่นแรก ๆ สูงกว่า 3 เมตร สวยงามมาก มีการพัฒนาทั้งต้นและดอกไปมาก แต่ส่วนใหญ่มักจะเน้นให้คงสภาพลักษณะสายพันธุ์ยักษ์ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด

7) A. somalense var. crispum ได้แก่กลุ่มยักษ์แคระ ดอกสีโกโก้ พบที่โซมาเลีย เคนย่า และแทนซาเนีย เป็นชนิดย่อยของกลุ่มยักษ์ใบยี่โถ แตกต่างกันมาก เพราะเป็นไม้พุ่มเตี้ยที่มีโขดกลมอยู่ใต้ดิน ใบเรียวแคบยาวแหลม ขอบใบหยิกเป็นคลื่น ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้มอมน้ำตาลหรือเทา มักเห็นเส้นใบชัดเจน ชอบออกดอกดกมากเป็นครั้งคราว แต่ช่วงการบานนาน ดอกมีขนาดเล็กบานทน มีสีชมพูจนถึงแดง บางสายพันธุ์มีสีแดงอมน้ำตาล สีซีดเข้าสู่กึ่งกลางดอก กลีบดอกแคบเป็นแถบค่อนข้างยาว มักบิดเป็นเกลียว แต่บางชนิดปลายดอกแหลมคล้ายรูปดาว ส่วนมากจะมีเส้นนำทางน้ำหวาน 15 เส้นจากในกรวย ซึ่งอาจทอดยาวแตกแขนงยาวเลยออกมากระจายไปทั่วกลีบ ทำให้เห็นความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างชัดเจน ระยางค์อับเรณูหดสั้นอยู่ภายในกรวย สายพันธุ์นี้นำเข้ามาในประเทศไทยจากแหล่งเพาะพันธุ์ในสหรัฐอเมริกา ประมาณ 5 ปีหลังนี้ ปลูกเลี้ยงกันในชื่อยักษ์แคระอเมริกา เป็นที่นิยมมากในการเสียบเข้ากับตอที่แข็งแรงขนาดใหญ่ จะให้ดอกดกมาก ใช้เป็นไม้ตกแต่งยอดเยี่ยม

ชวนชมที่พบตามธรรมชาติแหล่งใหญ่แห่งที่สองนั้นอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับมีสองชนิดคือ

1) Adenium arabicum Balf. f. ได้แก่ยักษ์อาหรับ ยักษ์ซาอุฯ ยักษ์อริโซน่า พบที่แถบตอนใต้และตะวันตกของริมคาบสมุทรอาหรับ ลำต้นสูงใหญ่ใต้ใบมีขนละเอียดนุ่ม ออกดอกดกตามลำต้นกิ่งหลักและกิ่งแขนง ดอกสีชมพูสดใส ส่วนใหญ่จะซีดลงจนถึงขาวในส่วนลึกของกรวย ซึ่งมีขนละเอียดยาวมากกว่าชนิดอื่น ๆ ฝักมักมีสีแดงเข้ม ขนาดฝักและเมล็ดอ้วนใหญ่กว่าพันธุ์ obesum มาก ชวนชมยักษ์ในชนิดนี้แบ่งลักษณะลำต้นออกเป็นสองฟอร์มคือ ฟอร์มซาอุ มีลำต้นเป็นแบบไม้ยืนต้น ลำชี้ ขึ้นตรง สูงได้ถึง 4 เมตร ถ้าพบในแถบภูเขาสูงจะเตี้ยลงแต่ขนาดโขดจะใหญ่ขึ้น ใบไม่กว้าง ดอกสีชมพูมีขนาดเล็ก (4 เซนติเมตร) ส่วนอีกฟอร์มมีลักษณะลำต้นเตี้ย แต่มีฐานโขดใหญ่กว้างถึงหนึ่งเมตร ชอบแตกกิ่งแขนง มีใบกว้างใหญ่มาก ดอกมีขนาดกลางประมาณ 8.5 เซนติเมตร ในกรวยดอกมีเส้นนำทางน้ำหวาน 5 เส้น เรียกฟอร์มเยเมน สายพันธุ์ที่รู้จักนิยมปลูกกันมีดอกขนาดใหญ่พิเศษคือ "สิงคโปร์" บางสายพันธุ์มีผิวของลำต้นออกทางขาวนวล แดงอมน้ำตาล เขียวอ่อน หรือเขียวอมเหลืองหลากหลายสี ในสายพันธุ์นี้ส่วนใหญ่ได้ทยอยนำเข้ามาทั้งต้น และเมล็ดจากผู้ที่เคยทำงานเขตตะวันออกกลางเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน จึงได้มาจากหลายแหล่ง หลายรูปแบบโครงสร้าง เจริญเติบโตได้ดี อัตราการเติบโตเร็วกว่าพวกชวนชมพื้นเมืองทั่วไป เพราะมีโขดใหญ่กว่ามาก เป็นไม้ที่นิยมกันอีกชนิดหนึ่ง ในบ้านเรานั้นมักเรียกชื่อสายพันธุ์ตามแหล่งใหญ่ที่ผู้นำเข้าได้แก่ ยักษ์อาหรับสายคุณหญิงพหลฯ สายสิงห์บุรี สายลพบุรี สายอยุธยา สายองครักษ์ และสายเมืองคง (โคราช) ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปจนเป็นที่น่าสังเกตได้จากสี รูปร่างใบ และลักษณะโขด แต่โดยมากที่พบมักจะเป็นประเภทมีฐานโขดกว้าง ชอบแตกหน่อหลายลำออกจากฐานโขด เป็นทรงกรวยใหญ่ชี้ตรงขึ้นฟ้า ออกดอกตกตามลำต้นและยอด จำนวนต้นยักษ์อาหรับยังมีไม่แพร่หลายมากนัก สามารถติดเมล็ดได้บ้างในบ้านเราเอง จึงเกิดพัฒนาสายพันธุ์ไปได้ สีดอกเกิดการกลายพันธุ์จากชมพูไปถึงสีขาวและแดงเป็นเอกลักษณ์ต่างจากสาย พันธุ์ดั้งเดิมมาก

2) A. socotranum Vierh. ได้แก่ ยักษ์ซาอุฯ เพชรบ้านนา ยักษ์บางคล้า พบที่เกาะโซโคทร้าของเยเมน ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียและพบที่ตอนใต้อาหรับ ถือว่าเป็นชวนชมพันธุ์ยักษ์ที่แท้จริง ลำต้นเมื่อมีอายุมากจะมีผิวเปลือกย่นคล้ายหนังช้าง โครงสร้างเป็นกรวยตรงใหญ่สูงหลายเมตร มีรายงานว่าพบสูงถึง 6 เมตร โขดกว้างถึงเกือบ 2 เมตรครึ่ง ส่วนยอดจะแตกกิ่งมีข้อสั้นเป็นแขนงมากมาย คล้ายต้นไม้ใหญ่ที่มีรากชี้ฟ้า รูปทรงใกล้เคียงกับต้นไม้ยักษ์ที่ชื่อบาวบับ ในระยะเป็นต้นขนาดเล็กที่เกิดจากการเพาะเมล็ด จะเห็นความแตกต่างจากชนิดอื่นที่ไม่แตกกิ่งแขนง หน่อ หรือลำต้นออกจากโคนหรือโขดที่มักจะยกตัวลอยอยู่เหนือพื้นดิน เก็บอาหารไว้ที่โขดและลำต้นที่เป็นลำแท่งตรงใหญ่ และที่โคนซึ่งมีรากใหญ่ลอยตัวพ้นผิวดินบิดงอซับซ้อนมีความสวยงาม ลำต้นแม้จะมีขนาดเล็กก็ดูคล้ายบอนไซ จัดเป็นต้นชวนชมที่เด่นที่สุด ออกดอกดกตั้งแต่อายุ 2 ปี เมื่อทิ้งใบหมดต้นก็จะออกดอกเป็นสีชมพู มีขนาดเล็ก และมักบานพรูพร้อมกันทั้งต้น มีตาดอกที่กิ่งแขนงและปลายยอด ให้ช่วงฤดูการบานของดอกทนนาน บางสายพันธุ์ให้ดอก 2 ครั้งต่อปี ลักษณะใบค่อนข้างเรียวยาวกว้างที่ใกล้ส่วนปลาย ใบค่อนข้างหนาเป็นมันสีเขียวเข้ม และเห็นเส้นกลางใบสีขาวชัดเจน
ชวนชม ชนิดนี้เป็นพันธุ์หายากพบว่ามีที่ปลูกไว้น้อยมากในสถาบันแหล่งสะสมสายพันธุ์ ของต่างประเทศ นับว่าเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทยเราที่มีผู้ซึ่งไปทำงานซาอุดิอารเบียมี ความรู้เรื่องต้นไม้แปลกได้นำเข้ามาเป็น กิ่งชำปลูกไว้ที่นครนายกเมื่อประมาณเกือบสิบปีที่แล้ว โดยในตอนแรกไม่ทราบว่าเป็นชนิดใด จึงเกิดเป็นชื่อสายพันธุ์ยักษ์ซาอุฯ เพชรบ้านนา และโดยบังเอิญที่เป็นสายพันธุ์ชนิดนี้ ซึ่งค่อนข้างจะหาได้ยากในเขตอาหรับตอนใต้ แต่จะพบมากที่สุดโดยเฉพาะที่บนเกาะโซโคทร้าของเยเมนเท่านั้น ทั้งลักษณะต้นนำเข้ามานี้โตมาจากกิ่งปักชำ จึงดูแตกต่างมากจากต้นที่เพาะจากเมล็ด จนกระทั่งเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วได้ติดตามลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของสายพันธุ์นี้ที่ยิ่งแสดงความ ชัดเจนมากขึ้นในรุ่นลูกที่ได้จากฝักของต้นนี้ ซึ่งให้จำนวนเมล็ดน้อยมาก แต่มีความนิ่งของสายพันธุ์ และแสดงโครงสร้างลำต้นดอกแตกต่างจากชวนชมชนิดอื่น ๆ ประกอบกับมีการนำเข้าพันธุ์แท้บางต้นจากเยเมน จึงได้แน่ใจกันว่าเป็นชนิด socotranum และหลังจากนั้นก็พบว่ามีการนำเมล็ดเข้ามาจากซาอุฯ อีกชุดหนึ่งเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ซึ่งแต่เดิมคาดว่าเป็นเมล็ดยักษ์อาหรับธรรมดาเท่านั้น แต่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ จึงได้เพาะเจริญเติบโตอยู่ที่บางคล้า ฉะเชิงเทรา ต่อเมื่อต้นชุดนี้มีอายุหลายปี มีขนาดใหญ่ขึ้นจึงแสดงลักษณะชนิดพันธุ์ชัดเจน และในขณะนี้สายพันธุ์กลุ่มนี้ก็ได้กระจายอยู่ทั่วไปในกลุ่มนักเลี้ยงชวนชม แล้ว
เนื่องจากชวนชมชนิดนี้ติดฝักค่อนข้างยาก แต่ถ้าได้ติดเป็นฝักสมบูรณ์แล้วมักจะไม่กลายพันธุ์จึงเป็นส่วนดี จำนวนต้นกล้าจึงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด และอาจจะกล่าวว่าชวนชมที่หายากชนิดนี้ในประเทศไทยเรา มีการเพาะปลูกมากที่สุดในโลกก็อาจเป็นได้ ชาวต่างประเทศผู้สะสมพันธุ์มักจะหาทางกว้านซื้อต้นกล้า ลักษณะที่ดีกลับไปให้ได้มากที่สุด ราคาทั้งต้นใหญ่ เล็ก ยังจัดว่าอยู่ในระดับสูงมาก
ชวนชมที่พบในประเทศไทยปัจจุบันจัดได้ว่ามี การรวบรวมไว้ครบทุกชนิด และมีความสวยงามหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เพราะบ้านเรามีแหล่งน้ำ ดิน อากาศพอเหมาะแก่การขยายพันธุ์เจริญเติบโตประกอบกับความรู้ความสามารถของ เกษตรกรเรียนรู้ได้เร็ว รู้จักดัดแปลงปรับปรุงอยู่เสมอ ทำให้บ้านเรามีต้นและดอกชวนชมที่ถือว่าอยู่ระดับแนวหน้า มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาศึกษาและทำธุรกิจมากมาย
ความหลากหลายของชวน ชมไม่ได้จบลงที่ชนิดต่าง ๆ แต่เพราะชวนชมต่างชนิดกันนั้น หากได้ใช้ความพยายามช่วยผสมเกสรแล้วจะผสมข้ามชนิดได้ ทำให้เกิดพันธุ์ลูกผสมมากมาย ขยายพันธุ์ได้ง่าย สามารถนำมาเสียบเข้ากับตอที่มีอายุมากรูปทรงดีแล้ว ก็จะได้ไม้ดอกพุ่มตามความนิยมที่สวยงามมาก สำหรับลักษณะดอกจะคัดพันธุ์กันตามความนิยมในเรื่องของสีสด สีเข้ม สีแปลกจากสีพื้น ๆ ขนาด รูปทรงดอก ช่วงฤดูการบานนาน บานทน และความดก หากจะจำแนกสีในกลุ่มพื้นเมืองของลูกผสมฮอลแลนด์แล้ว จะมีดังนี้
กลุ่มสี แดง ได้แก่ แดงสะท้อนแสง แดงกรรณิการ์ แดงไต้หวัน ดวงตะวัน อำนวยโชค มณีนิล เพชรมณี และแดงลูกัส เป็นต้น สีแดงอมแสด ได้แก่ ส้มลายไทย แดงรุ่งโรจน์ แสดปัญจรัตน์ ฯลฯ สีแดงค่อนทางชมพู ได้แก่ มุกมณี สาวสวนแตง รัตนมงคล ศรีโสธร นิ่มนวล ฯลฯ ที่มีสีแดงเข้มผิวคล้ายกำมะหยี่ ได้แก่ แสงรัศมี และแดงอังเปา ที่เป็นไม้ล่าสุด สำหรับแดงที่มีกลีบดอกและใบหนาขนาดใหญ่พิเศษคือ แดงนับอนันท์
กลุ่มสี ชมพู ได้แก่ ช่อทิพย์ ช่อผกา พวงผกา พวงชมพู เพชรชมพู ดาวชมพู ชมพูแวร์ซาย ชมพูเพชรรัตน์ ฟ้าประทาน แป๊ะยิ้ม บัวแก้ว บัวขวัญ หนึ่งเดียว ชมพูรจิตแก้ว ระฆังแก้ว และกัญจมาภรณ์ ฯลฯ ในกลุ่มนี้บางสายพันธุ์ให้สีเหลื่อมล้ำหลายสีหรือพวกสีแฟนซี จากขาวสำหรับดอกบานวันแรก วันต่อมาเป็นชมพูอ่อน เมื่อบานนานหลายวันจะเป็นชมพูเข้ม บ้างก็เปลี่ยนสีในดอกเดียวกัน หรือในช่อเดียวกันจึงมีความสวยแตกต่างจากสีพื้นเรียบธรรมดา สีดอกประเภทนี้ได้แก่ เพชรสายรุ้ง สุชาวรี ลีลาวลี พุดตาลสามสี ชมพูรจิตแก้ว แววมยุรา สามกษัตริย์ และล่าสุดคือ ชมพูสำราญ บางสายพันธุ์ให้สีชมพูที่มีโทนม่วงเข้ามาได้แก่ ขาวขอบม่วง ม่วงมาดาม หรือม่วงแคทรียา ม่วงจำปาสัก ม่วงเม็ดมะปราง ม่วงดอกมะเขือ ม่วงกรรณิการ์ ม่วงตวงทอง ม่วงมะเหมี่ยว เป็นต้น
กลุ่มสีขาว ได้แก่ ขาวประ ขาวมะลิ ขาวสไปร์ ขาวอรุณี ขาวคีรีบูร ขาวมงกุฏเพชร ขาวประภาพรรณ ขาววิรัตน์ ขาวมรกต เพชรน้ำเอก ขาวลิลี่ไวท์ ขาวศรีอโยธยา ขาวบางใหญ่ ขาวมีทรัพย์ และขาวมรดกโลก ล้วนแต่เป็นลูกไม้ที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งได้จัดว่าเป็นกลุ่มขาวที่ดีที่สุดในโลก
หากจะจำแนกในความแปลกของดอก เช่น กลุ่มดอกหอม จะมีหลายสายพันธุ์ที่หอมมากเป็นพิเศษหอมรุนแรง ตั้งแต่สายจนบ่ายกลิ่นคล้ายกุหลาบปนน้ำหอมสุภาพบุรุษ ได้แก่ แดงหอม แก้วดอกหอม ขาวหอม ขาวมะลิคริส เตียนดิออร์ และหอมเพชรรัตน์ เป็นต้น หรือในบางชนิด มีสีด่างลายขาวและแดงเป็นไม้นำเข้าจากไต้หวันชื่อดอกลายสายน้ำตก บางชนิดมีลายด่างเป็นขอบชั้นได้แก่ เพชรสายรุ้ง เพชรเมืองกาญจน์ ดอกบางชนิดมีกลีบซ้อน เป็นสองชั้นได้แก่ เพชรบ้านสร้าง หรือบางชนิดก็อาจมีจำนวนกลีบมากน้อยแตกต่างกันจาก 3 ถึง 8 กลีบก็มี
นอก จากกลุ่มสายพันธุ์ฮอลแลนด์ที่นิยมมากคือ พวกพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามชนิดระหว่างพันธุ์อาหรับกับฮอลแลนด์ หรือกับกลุ่มสวาซิคัม มีที่เป็นไม้นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาได้แก่ กลุ่มแดงมงคล คริมสันสตาร์ (แดงปักษ์ใต้) คาร์ริบโซ แดงหาดใหญ่ แดงเชียงใหม่ แดงแม่โจ้ แอสช่า และกมลทิพย์ เป็นต้น แต่เมื่อนำไปปลูกนานเข้าเกิดติดฝักโดยธรรมชาติในประเทศไทยได้รุ่นลูกของ กลุ่มนี้ที่มีลักษณะที่ดีพันธุ์ล่าสุดได้แก่ พรทิพย์ ประกายดาว และแดงสิริ เป็นต้น
ความหลากหลายของใบชวนชมมีมากสี จากเขียวใสคล้ายสีตองอ่อน เขียวเข้ม เขียวอมเทา เงิน เขียวอมแดง (ได้แก่นิลมหากาฬ แดงเสนาะ) ขอบแดง สีขาวนวล ใบลายด่าวขาว (variegata) ก็เป็นที่นิยมเล่นเป็นไม้ใบได้ ซึ่งมีข้อได้เปรียบพืชอื่น ๆ ที่ยังสวยที่ดอกและโขดเป็นบอนไซได้ สายพันธุ์ประเภทด่างที่เกิดในประเทศไทยจากสายพันธุ์ฮอลแลนด์ได้แก่ ด่างชาตรี ด่างวิฑูรณ์ ด่างปรีชา ด่างจิ๋ว ด่างรจิตแก้ว ด่างนับอนันท์ และด่าวแก้วสารพัดนึก นอกจากนี้ได้เกิดการด่างกลายในชนิดสวาซิคัม ได้แก่ ช็อคกิ้งพิ้งด่าง และด่างในชนิดยักษ์ใบยี่โถอีกด้วย สำหรับลำต้นชวนชมนอกจากมีลายด่างลายแล้ว บางครั้งลูกกล้าที่เพาะใหม่ก็มีการกลายพันธุ์มีลำต้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ใสก็มี หรือบางยอดเปลี่ยนเป็นแผงหรือกำแพงเกิดเป็นตาดอกมาก จึงเกิดเป็นช่อดอกขนาดใหญ่ มีจำนวนหลายสิบดอก เมื่อเพาะกล้าชวนชมจำนวนมากหลายพันต้น มักจะพบลูกหลงกลายพันธุ์แปลกออกมาเป็นพันธุ์แคระ ลำต้นย่อขนาดลงมากใบเล็กกว่าหนึ่งตารางเซนติเมตร หรือได้ลักษณะเป็นใบบิดแข็งหนามัน คล้ายพลาสติกให้ดอกที่สวยด้วยจึงนิยมนำมาปลูกเล่นเป็นบอนไซที่สวยงาม
ชวน ชมจึงเป็นไม้ที่น่าหลงไหล มีความงามต่างรูปแบบ สวยทุกส่วนสัดทั้งดอก ใบ ต้น โขดและราก ทั้งการเลี้ยงดูก็แสนจะง่าย ตายก็ยาก จะเอามาตกแต่งเป็นไม้พุ่ม ไม้ดัด ไม้ใหญ่ จัดเข้าสวนบ้านไทย ก็ทันสมัยทุกเวลา

1 ความคิดเห็น: